a day: number 182: King of Peace

Global Review: Advertising ตอน Burger King ราชันย์แห่งสันติภาพ By Weerachon Weeraworawit, Published: 31 October 2015 กลายเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการโฆษณาไปแล้ว กับงานโฆษณาที่มีเนื้อหาตั้งอยู่บนแกนของวันสำคัญต่างๆ แทนที่จะตั้งโจทย์อยู่บนจุดขายหรือทัศนคติของแบรนด์แบบที่เราคุ้นเคย ที่บอกว่าเป็นเทรนด์ไปแล้ว เห็นได้จากวันแม่บ้านเราที่ผ่านมา มีหลายแบรนด์กระโดดเข้ามาทำหนังโฆษณาต้อนรับวันสำคัญนี้กันยกใหญ่ โดยก่อนหน้านี้ งานโฆษณาที่อิงกับวันสำคัญ ที่เรียกเสียงฮือฮามาถึงเมืองไทย มักจะมาจากประเทศอังกฤษและอเมริกา โดยที่อังกฤษจะมีหนังโฆษณาดีๆ ออกมาทุกปีในช่วงวันคริสต์มาส ที่แต่ละแบรนด์เทงบฯโฆษณาลงมากันแบบมโหฬาร ขณะที่อเมริกันชน ก็มีผลงานรำลึกถึงโศกนาฏกรรม 9/11 ออกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ไหนจะวันอีสเตอร์ วันชาติ วันพ่อ ฯลฯ จึงไม่แปลกที่งานโฆษณาของ 2 ประเทศนี้จะมีความแพรวพราวกว่าประเทศอื่นๆ มายาวนาน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะโจทย์ต้นทางมีความหลากหลายกว่านั่นเอง และจากเทรนด์นี้ ทำให้เรากำลังได้เห็นแคมเปญที่สดใหม่จนน่าจะได้รับรางวัล Titanium Lions ที่คานส์ในปีหน้าเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา แคมเปญที่ว่านี้เป็นของ Burger King ที่ทำขึ้นเพื่อเพิ่มการรับรู้ที่มีต่อวัน International Day of Peace หรือ World Peace Day อันหมายถึงวันสันติภาพสากล ที่ริเริ่มโดยองค์การสหประชาชาติ ในปี 2524 และถือเป็นวันสำคัญของโลกโดยเฉพาะกับชาติที่มีการรบพุ่งก็มักจะเลือกให้วันที่ 21 กันยายน เป็นโอกาสพิเศษในการหยุดยิงกันชั่วคราว ไอเดียของ Burger King ก็ง่ายๆ เริ่มจากการส่งสาส์นสงบศึกถึงคู่แข่งสำคัญ McDonald’s ผ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับในอเมริกา ชวนให้หยุดแข่งขันทำสงครามการตลาดกันหนึ่งวัน มาร่วมทำเบอร์เกอร์เวอร์ชั่นพิเศษฉลองวันสันติภาพสากลกันดีกว่า ตั้งชื่อให้เสร็จสรรพว่า McWhopper แหม! ช่างให้เกียรติคู่แข่งกระไรเช่นนี้ ให้ชื่อคนอื่นอยู่หน้าสินค้าไอเดียตัวเองซะด้วย โดยนำชื่อเบอร์เกอร์เบอร์หนึ่งของตนเองคือ Whopper มารวมเข้ากับเบอร์เกอร์สุดฮิตของ McDonald’s คือ Big Mac เกิดเป็นชื่อเบอร์เกอร์แห่งสันติภาพ ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังออกแบบชุดพนักงาน กล่องเบอร์เกอร์... Read The Rest →
a day: number 181: Advertising Museum Tokyo

Global Review: Advertising ตอน Advertising Museum Tokyo By Weerachon Weeraworawit, Published: 30 September 2015 ประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีข่าวเล็กๆ ในวงการโฆษณาบ้านเรา เมื่อบริษัททำ Post Production ชั้นนำในประเทศประกาศให้เอเจนซี่ต่างๆ ไปรับเทปฟุตเตจหนัง โฆษณาของตนเองกลับคืนไปก่อนที่จำต้องทำลายทิ้ง เนื่องจากต้องเสียค่า ใช้จ่ายสูงลิ่วในการเก็บรักษาม้วนเทปและแผ่นฟิล์ม นึกถึงความรู้สึกตอนนั้นยังใจหายถึงตอนนี้ เพราะทราบมาว่ามีเอเจนซี่ โฆษณาเพียงไม่กี่แห่งที่ไปรับฟิล์มกลับคืน ส่วนที่เหลือก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ได้ไปรับผลงานในอดีตกลับมาเก็บรักษา เราจึงได้แต่ชื่นชมผลงานในอดีตของบ้านอื่นเมืองอื่น เดือนที่แล้วผมได้นำทีมงานชาว Well Done Bangkok ไปเที่ยวพักผ่อนประจำปีที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก็เลยถือโอกาสพาไปเยี่ยมชม Advertising Museum Tokyo (ADMT) ที่ก่อตั้งโดยเอเจนซี่โฆษณายักษ์ใหญ่ของเอเชียและของโลก Dentsu ในปี 2002 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งก็เพื่ออุทิศให้แก่ประธานบริษัทผู้บุกเบิกงานโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ Hideo Yashida พร้อมทั้งเป็นการสร้างขุมคลังความรู้เก็บไว้ให้ประเทศ ให้คนรุ่นนี้และรุ่นต่อๆ ไปได้เข้ามาศึกษาวัฒนธรรมของญี่ปุ่นผ่านผลงานการสื่อสารการตลาด สมดังแนวคิดของพิพิธภัณฑ์ที่ว่า โฆษณาเป็นกระจกส่องสังคม โดยแท้ ที่นี่ ผลงานโฆษณากว่าสองร้อยปีได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี ทั้งต้นฉบับและสำเนาดิจิตอล… เริ่มด้วยใบปลิวของห้างสรรพสินค้าในยุคเอโดะ (1603-1868) ซึ่งถือเป็นการแจ้งเกิดงานโฆษณาในญี่ปุ่นเมื่อกว่าสองร้อยปีก่อนอย่างเป็นทางการ โดยใช้เทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ Wood Block เป็นหลัก ในยุคนี้ มีการเขียนข้อความเนียนๆ แบบ Product Tie-in บนฉากละครคาบูกิซะด้วย แถมให้นักแสดงช่วยพูดชวนเชื่อบนเวทีให้อีก นับเป็นการใช้เซเลบช่วยโฆษณาให้เป็นครั้งแรกโดยมีแผ่นสคริปต์ข้อความโฆษณาเป็นหลักฐาน ตามมาด้วยผลงานในยุคเมจิ (1868-1912) ที่เทคโนโลยีการเรียงพิมพ์จากตะวันตกได้เข้ามาสู่ญี่ปุ่น นำมาสู่การถือกำเนิดของหนังสือพิมพ์เมื่อราวๆ 150 ปีก่อน อันเป็นจุดเริ่มต้นของงานโฆษณาแบบ Mass Media ที่ลงทุนไม่มากแต่ได้เห็นสินค้าและบริการในหน้าหนังสือพิมพ์กันทั้งประเทศ ต่อด้วยโฆษณาในยุคไทโช (1912-1926) ที่ญี่ปุ่นอยู่ในช่วงเปิดประเทศเต็มตัวทำให้รับอิทธิพลของ Art Nouveau... Read The Rest →
a day: number 177: LGBT in Cannes

Global Review: Advertising ตอน เพศที่สามในคานส์ By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 May 2015 สืบเนื่องจากข้อเขียนในฉบับที่แล้ว ว่าด้วยเรื่องรางวัลใหม่ในเทศกาล Cannes Lions International Festival of Creativity ที่กำลังจะมาถึงในกลางปีนี้ คือรางวัลสิงโตแห่งสิทธิสตรี Glass Lion ผู้อ่านหลายท่านทักมาว่า เอ๊ะ! เวทีคานส์ก้าวหน้าขนาดสนับสนุนผลงานโฆษณาที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างเพศชายกับหญิงแล้ว แต่เพศสำคัญอีกเพศหนึ่งคือเกย์กับเลสเบี้ยนล่ะ ทางคานส์มีรางวัลพิเศษอะไรมามอบให้หรือเปล่า คำตอบคือยังไม่มีรางวัลพิเศษครับ แต่ทางคานส์เองก็ไม่ได้ละเลยผลงานดีๆ ที่คุยกับเพศที่สาม เห็นได้จากผลการตัดสินปีที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการตัดสินในหมวดสื่อโฆษณากลางแจ้งหรือ Outdoor Lions ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ โหวตให้ผลงานชื่อ GayTM ของธนาคาร ANZ ที่สร้างสรรค์โดยเอเจนซี่ Whybin\TBWA Group เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เป็นผู้คว้ารางวัลสูงสุด Grand Prix ทั้งยังกวาดสิงโตในหมวดอื่นๆ กลับบ้านอีกรวมถึง 7 รางวัลเลยทีเดียว จุดเริ่มต้นของแคมเปญนี้ เกิดจากทางธนาคาร ANZ ได้ให้การสนับสนุนเทศกาลพาเหรดเกย์และเลสเบี้ยนประจำปีที่เมืองซิดนีย์ (Sydney Gay and Lesbian Mardi Gras) มานานหลายปี และเพิ่งตัดสินใจเลื่อนฐานะตนเองขึ้นมาเป็นสปอนเซอร์หลัก จึงอยากทำแคมเปญโฆษณาสนุกๆ ออกไปให้คนทั่วไปโดยเฉพาะชาวสีรุ้ง เกิดความรู้สึกที่ดีกับทางธนาคาร ผลที่ได้จึงกลายเป็นผลงาน CSR สะท้านโลก ทั้งที่แก่นแกนของแคมเปญนั้นแสนเล็ก คือการแปลงโฉมตู้เอทีเอ็มหน้าตาธรรมดาๆ ออกจะดูน่าเบื่อด้วยซ้ำไป ให้กลายเป็นฟู่ฟ่าน่าหยิก โดยตกแต่งด้วยขนเฟอร์ เพชรนิลจินดา ให้ทั้งตู้ดูระยิบระยับเตะตาในช่วงเทศกาลพาเหรดเกย์ พร้อมทั้งทำกราฟิกหน้าจอเน้นสีรุ้งให้สอดคล้องกับรูปโฉมใหม่ของตัวตู้ ปิดท้ายด้วยสลิปเอทีเอ็มที่แน่นอนว่าต้องพิมพ์ลวดลายสีรุ้ง และทางธนาคารยังมอบรายได้จากการทำธุรกรรมผ่านตู้ GayTM โดยลูกค้าขาจรทั้งหมดให้กับมูลนิธิ Twenty10 ที่รณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศในซิดนีย์ ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้แคมเปญแปลงโฉมตู้เอทีเอ็มนี้แพร่หลายกลายเป็นไวรัลไปทั่วโลก ต้องยกความดีความชอบให้กับสื่อโซเชียล ด้วยความที่ตู้เกย์ทีเอ็มถูกจัดวางอย่างถูกที่ถูกทางกลางเมืองในเทศกาลพาเหรดเกย์ มันจึงยั่วยวนชวนให้คนที่เดินผ่านไปมาเก็บอาการไว้ไม่ไหว ต่างพากันแชะถ่ายรูปกับตู้... Read The Rest →
a day: number 171: Fake Ad Agency, Real Work

Global Review: Advertising ตอน เอเจนซี่ของปลอม กับงานโฆษณาของจริง By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 November 2014 จากที่ได้เกริ่นไปในฉบับที่แล้ว ถึงเทรนด์ใหม่วงการโฆษณาโลก เรื่องการสร้างโฆษณาในลักษณะคอนเทนต์ ที่ไม่ได้แค่มาแรงแค่บนกระแสโลก แต่ยังมาโลดแล่นกวาดรางวัลบนเวทีอวอร์ดไทยอย่าง Adman & Symposium 2014 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าเพิ่งพูดถึงไปแหมบๆ เจ้า Content Idea ที่ว่านี่ ก็ได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอีกขั้นแล้วครับ เมื่อ TBWA เอเจนซี่โฆษณายักษ์ใหญ่ ได้ผุดไอเดียสร้างรายการละครโทรทัศน์แบบขำขันหรือที่เรียกกันว่าซิตคอมขึ้นมาเป็นของตนเอง เกิดการ Own Content ที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานออกสู่สายตาคนดูแบบเป็นเรื่องเป็นราวทางสถานีโทรทัศน์ปกติ โดยหัวหอกที่ริเริ่มรายการนี้คือ TBWA Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ซิตคอมเรื่องดังกล่าวมีชื่อว่า Buy This! ได้รับแรงบันดาลใจสำคัญมาจากละครดราม่าทางโทรทัศน์เรื่องเยี่ยม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวงการโฆษณาโดยตรงอย่าง Mad Men แต่ความแตกต่างของซิตคอมเรื่อง Buy This! กับ Mad Men ไม่ได้อยู่ที่ความเป็นละครตลกขบขัน หากเป็นความตั้งใจของทางเอเจนซี่ที่สร้างบริษัทเอเจนซี่โฆษณาจำลองขึ้นมาในซิตคอม แล้วก็ติดต่อลูกค้ารายใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นลูกค้าของ TBWA อยู่แล้ว หรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นลูกค้าของตนแต่อย่างใด ให้มาวางแผนงานโฆษณาร่วมกับนักแสดงในซิตคอม โดยมีทีมครีเอทีฟของ TBWA Helsinki แอบช่วยคิดงานอยู่เบื้องหลัง ส่วนเบื้องหน้าที่คนดูได้เห็นบนจอทีวีก็คือการที่นักแสดงในเอเจนซี่จำลองได้ติดต่อกับลูกค้าจริง เกิดการแจกโจทย์จริง ซึ่งท้ายที่สุดก็ทำให้เกิดการผลิตชิ้นงานโฆษณาจริง ที่ได้รับการนำไปออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ทั่วประเทศ กลายเป็นใบเบิกทางชั้นดีทางธุรกิจที่ทำให้ TBWA Helsinki ต่อยอดกวาดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายๆ จากซิตคอม 10 ตอนๆ ละ 30 นาทีที่ว่านี้ โดยมีลูกค้าขาประจำของทางเอเจนซี่เข้ามามีส่วนร่วมเพียง 3 ตอน ส่วนอีก 7 ตอนที่เหลือ เป็นลูกค้าหน้าใหม่ที่ทางเอเจนซี่เพิ่งได้มา... Read The Rest →
a day: number 170: Inside Adman

Global Review: Advertising ตอน Inside Adman By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 October 2014 ผ่านพ้นกันไปหมาดๆ นะครับ สำหรับงานใหญ่ในรอบปีของผู้คนในแวดวงสื่อสารการตลาดและโฆษณา นั่นก็คือ Adman Awards & Symposium 2014 ที่เพิ่งจัดงาน Adman Night เพื่อสังสรรค์กันในวงการรวมทั้งมอบรางวัลให้กับสุดยอดผลงานโฆษณาประจำปีไปเมื่อค่ำคืนวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และนับเป็นเกียรติอย่างสูงที่ทางสมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย โต้โผงานนี้ ได้เชิญผมให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวด เพื่อเฟ้นหาสุดยอดผลงานโฆษณาผู้ชนะรางวัลแอดแมนในหมวดสาขาต่างๆ ไล่เรียงกันมายาวเหยียด ตั้งแต่ภาพยนตร์โฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณานอกบ้าน สปอตวิทยุ ดีไซน์ มีเดีย พีอาร์ อีเวนท์ การสื่อสารการตลาดทางตรง ดิจิตอล Integrated Marketing Communication (IMC) ไปจนถึงหมวดที่เน้นการวัดผลเป็นหลักอย่าง Ad That Works ต้องขออนุญาตเท้าความนิดนึง คือในเวทีการแข่งขันผลงานโฆษณาในบ้านเรา ในแต่ละปีจะมีอยู่ 2 เวทีใหญ่ครับ หนึ่งคือเวทีผู้กำกับศิลป์บางกอก หรือที่รู้จักกันดีในนามแบด (B.A.D.) อีกเวทีก็คือแอดแมน ในขณะที่เวทีแบดจะเน้นไปที่งานครีเอทีฟจ๋าๆ และงานคราฟต์จัดๆ คณะกรรมการทั้งหมดจึงมาจากสายงานครีเอทีฟ แต่เวทีแอดแมนจะพิจารณาถึงความ Impact ในเชิงการตลาดมาประกอบด้วย ทำให้ในแต่ละปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาตัดสินแอดแมนในแต่ละหมวด จึงเป็นบุคลากรที่มาจากทุกภาคส่วนในวงการ รวมไปถึงอาจารย์ นักการตลาด และเจ้าของกิจการที่เป็นลูกค้าของเอเจนซี่โฆษณาอีกที นั่นก็เลยทำให้การกำหนดธีมประจำงานแอดแมนในแต่ละปีมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากการตัดสินรางวัลแล้ว แอดแมนยังมีการจัดสัมนากับภาคธุรกิจ ราชการ และนักศึกษา ธีมแต่ละปีจึงเป็นการส่งสารไปถึงทั้งคนในวงการและนอกวงการ เพื่อให้รับทราบถึงทิศทางความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมนี้ โดยในปีนี้ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลก ที่ส่งผลกระทบต่อวงการโฆษณาบ้านเราในหลายๆ ด้าน ผมจึงกำหนดให้ The New Frontier เปิดโลกโฆษณา บุกท้าทายพรมแดนใหม่ เป็นธีมหลัก... Read The Rest →