a day: number 162: Love Leads The Way

Global Review: Advertising ตอน Operation ความรักส่องนำทาง By Weerachon Weeraworawit, Published: 14 February 2014 ความรักนี่มีพลังมากนะครับ ดังนั้น การใช้พลังความรักชักจูงใจในวงการโฆษณานี่ ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะพบเจอได้ตลอด ทั้งการรักตัวเอง ต้องดูแลตัวเอง ในหมวดสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม สร้างหลักประกันอนาคตให้คนที่คุณรัก ในหมวดประกันชีวิต รักลูกรักครอบครัวก็อยู่ห่างๆ อบายมุข ในหมวดส่งเสริมสังคม โดยโฆษณาบนเวทีโลกที่จะหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ ก็เป็นโฆษณาที่นำพลังความรักมาใช้ได้อย่างซาบซึ้งและเข้าเป้าเข้าประเด็น ยิ่งไปกว่านั้น โฆษณาชิ้นนี้ยังเป็นภาคต่อของแคมเปญโฆษณาที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในแคมเปญที่ดีที่สุดในโลกในรอบ 3-4 ปีนี้ พิสูจน์ได้จากรางวัลระดับโลกมากมายไล่ตั้งแต่ Grand Prix จากทุกเวที ไปจนถึง Cannes Titanium Lion โดยเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Colombian Ministry of Defense หรือกระทรวงกลาโหม ประเทศโคลอมเบีย ได้ออกแคมเปญโฆษณาชุดใหม่ Mother’s Voice อันนับเป็นแคมเปญใหม่ที่ปล่อยออกมาในช่วงคริสต์มาสเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และยังคงรังสรรค์โดยเอเจนซี่โฆษณา Lowe SSP3 เพื่อโน้มน้าวให้บรรดาบุคคลผู้หลงผิดไปเข้าร่วมกลุ่มกบฎ Revolutionary Armed Forces of Colombia (FARC) จับปืนรบกับรัฐบาลอยู่ในป่า ให้หันกลับเข้าเมืองมามอบตัวกับทางการ หนังโฆษณา Mother’s Voice เน้นการเล่าเรื่องแบบเรียบง่าย ไม่หวือหวา โดยเป็นเรื่องของบรรดาแม่ของกลุ่มกบฎจริงๆ ที่ดูรูปถ่ายของลูกตนเองในวัยเด็ก พร้อมขึ้นข้อความ “ก่อนลูกจะเป็นโจร ลูกเป็นลูกของแม่” และปิดท้ายหนังด้วยข้อความอีกทีว่า “คริสต์มาสปีนี้ แม่รอลูกอยู่ที่บ้าน ขอให้ออกจากป่ามามอบตัว” ก็ต้องคอยดูกันต่อไปว่าผลลัพธ์ของแคมเปญใหม่ที่ใช้ความรักระหว่างแม่ลูกมาเป็นแกนหลัก จะสัมฤทธิ์ผลมากน้อยแค่ไหน กลุ่มกบฎจะออกจากป่ามามอบตัวเพิ่มขึ้นปรู๊ดปร๊าดเหมือน 3 แคมเปญก่อนหน้านี้หรือไม่ เพราะยังคงเล่นกับ Insight เดิมที่ว่า คนเรารักและผูกพันกับบ้านเกิด กลุ่มกบฎซึ่งเป็นคริสเตียนจะคิดถึงบ้านมากที่สุดในช่วงคริสต์มาส... Read The Rest →
BEYOND PRINT: 14th Article: Cool Japan

คิดนอกกระดาษ ตอน Cool Japan ที่รัก By Weerachon Weeraworawit, Published: 14 February 2014 ตั้งแต่ญี่ปุ่นเปิดให้เข้าประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่านี่ คนไทยเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นกันเยอะมากนะครับ รวมทั้งผมด้วย แฮ่ๆ! ช่วงกลางปีพาทีมงานที่ออฟฟิศไปเที่ยวประจำปีที่เกียวโต โอซาก้า แล้วยังไม่จุใจ ปีใหม่ที่ผ่านมาเลยหอบกระเป๋าจูงมือแฟน ออกตะลุยจากดินแดนตอนเหนือของญี่ปุ่นตั้งแต่ ซัปโปโร ไล่ลงมาเรื่อยๆ จนถึงภูเขาไฟฟูจิและโตเกียว ไปอยู่แบบนานๆ เป็นอาทิตย์ๆ ให้หายอยากกันไปข้าง แต่ยิ่งได้มีโอกาสเที่ยวชมและใช้ชีวิตอยู่ตามเมืองต่างๆ ของประเทศนี้ ก็ยิ่งประทับใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของผู้คนที่นี่ จนเริ่มเข้าใจวิธีคิดที่อยู่เบื้องหลังศิลปะประจำชาติหลายๆ อย่าง ซึ่งมีเอกลักษณ์สูงจนกลายเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็น อาหาร สถาปัตยกรรม แฟชั่น เกมส์ การ์ตูนแอนิเม แมงก้า ภาพยนตร์ ไปจนถึงงานโฆษณา และทราบมั้ยครับว่าต้นทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้กำลังจะทำหน้าที่เป็นทูตพาณิชย์และสินค้าทางปัญญาที่สำคัญ ถึงขนาดที่รัฐบาลญี่ปุ่นและภาคเอกชนหมายมั่นปั้นมือให้เป็นหัวหอกในการส่งออก เพื่อกอบกู้สถานภาพบ้านเมืองในยามที่เศรษฐกิจภายในประเทศถดถอย และรับมือกับภาวะที่นวัตกรรมด้านต่างๆ อาจจะเสื่อมถอยเนื่องมาจากคนแก่ล้นประเทศ ภายใต้ชื่อโครงการว่า Cool Japan โดยคำว่า Cool Japan นี้ ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี 2002 ในนิตยสาร Foreign Policy ประทศสหรัฐอเมริกา Douglas MacGray ได้เขียนบทความ Japan’s Gross National Cool ชื่นชมวัฒนธรรมร่วมสมัยด้านต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะปรากฎการณ์คลั่งไคล้ในความน่ารักของ Hello Kitty และย้ำว่าขณะนี้มันได้สร้าง Soft Power ที่ทรงพลังและมีอิทธิพลต่อคนทั้งโลก ขึ้นอยู่กับว่าคนญี่ปุ่นซึ่งหมายถึงภาครัฐและเอกชน จะสามารถนำพาพลังสร้างสรรค์เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติได้หรือไม่ หรือจะปล่อยให้ดำเนินไปตามยถากรรม เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง บทความนี้เองได้จุดประกายให้กับคนญี่ปุ่น โดยในปี 2005 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ยังต้องจับ Gross National Cool มาโยงเปรียบเทียบกับแนวคิดในการบริหารประเทศของภูฏาน Gross... Read The Rest →
a day: number 161: Risky Advertisement

Global Review: Advertising ตอน หนังโฆษณาท้ามฤตยู By Weerachon Weeraworawit, Published: 20 January 2014 ปรากฎการณ์มวลมหาประชาชนปิดล้อมสถานีโทรทัศน์เพื่อกดดันให้นำเสนอข่าวสารการชุมนุมประท้วงอย่างรอบด้าน เป็นตัวบ่งชี้ชั้นดีถึงความสำคัญของฟรีทีวีในบ้านเรา เพราะขณะที่คนเมืองสามารถเข้าถึงข่าวสารการชุมนุมผ่านช่องทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คได้อย่างกว้างขวาง แต่ต้องยอมรับว่าผู้คนที่อยู่นอกเมืองและชนบทยังคงต้องพึ่งพาสื่อฟรีทีวีเป็นหลักในการติดตาม และสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อบ้านเราเปิดให้บริการดิจิตอลทีวีเต็มรูปแบบ เพราะไม่เพียงแต่จะปลดแอกสื่อฟรีทีวีจากสัมปทานรัฐในการออกอากาศ หากยังเปิดประตูสู่ทางเลือกใหม่ๆ ในการรับชม และนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วงการโฆษณาโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเดิมที่เราเคยมีฟรีทีวีเพียงไม่กี่ช่อง อีกไม่กี่เดือน จะมีฟรีทีวีเพิ่มขึ้นเป็นสิบช่อง การทุ่มเงินซื้อสื่อหนังโฆษณาลงฟรีทีวี แล้วคาดหวังว่าจะมีคนเห็นเป็นล้านๆ คนแบบในอดีต จึงถึงเวลาต้องทบทวน โดยเฉพาะแบรนด์เล็กๆ ที่ไม่สามารถทุ่มตลาดหว่านซื้อเวลาออกอากาศได้ทุกช่อง ซึ่งจากสภาพการณ์นี้เอง จึงคาดหวังในแง่ดีได้ว่า เร็วๆ นี้ เราน่าจะได้เห็นหนังโฆษณาที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ลูกค้าจะกล้าเดินออกนอกกรอบมาสร้างเนื้อหาสดใหม่กับครีเอทีฟโฆษณามากขึ้น เพื่อสร้างการพูดถึงและจดจำหนังโฆษณาเรื่องนั้นๆ ให้ได้แม้การเห็นเพียงครั้งเดียว สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่เอเจนซี่โฆษณาล้ำๆ ระดับโลกเล็งเห็น และกำลังทำให้เห็น เพราะเหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นในชาติตะวันตกมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อคนดูมีช่องทางในการเลือกรับชมมากมาย จะทำอย่างไรให้หนังโฆษณาดึงดูดใจของพวกเขาได้ คำตอบคือต้องทำหนังโฆษณาให้น่าสนใจที่สุด แล้วไม่ว่าคุณจะฉายหนังเรื่องนั้นบนช่องทางไหน คนดูก็จะอยากตามไปดูเอง นี่คือหลักการสำคัญที่ทำให้เอเจนซี่อิสระขนาดเล็กอย่าง Forsman & Bodenfors แห่งสวีเดนสร้างปรากฎการณ์กับลูกค้า Volvo Trucks จนโด่งดังไปทั้งโลกอยู่ในเวลานี้ โดย Forsman & Bodensfors เอเจนซี่คลั่งงานที่ไม่มีใคร (รวมทั้งครีเอทีฟ) มาทำงานเกินเก้าโมงเช้าแห่งนี้ เลือกที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ YouTube เป็นสถานีหลักในการนำเสนอหนังโฆษณาออกมาต่อกรกับรถบรรทุกเจ้าตลาด Mercedes Benz สถานี YouTube.com/VolvoTrucks เปิดขึ้นเมื่อสี่ปีก่อน แต่ผลงานที่เป็น Break Through เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2012 The Ballerina Stunt คือคลิปเสี่ยงตายความยาว 3 นาทีครึ่งที่นำ Faith Dickey หญิงสาวนักไต่เส้นลวดเจ้าของสถิติโลก มาเดินไปบนเส้นลวดที่ขึงพาดระหว่างรถบรรทุก Volvo 2 คันที่กำลังแล่นด้วยความเร็วอยู่บนถนน เธอต้องก้าวข้ามจากรถบรรทุกคันแรกไปสู่รถบรรทุกอีกคันให้ทัน... Read The Rest →
a day: number 160: A Day for Batkid

Global Review: Advertising ตอน ขอหนึ่งวัน สานฝัน Batkid By Weerachon Weeraworawit, Published: 20 December 2013 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมืองไทยของเราเกิดปรากฎการณ์สำคัญที่ผู้คนพร้อมใจกันออกมารวมตัว ร่วมเป่านกหวีดแสดงการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ ผ่านการนัดแนะทางสังคมออนไลน์ ที่อเมริกาก็เช่นกัน ในเดือนเดียวกันนี้ ผู้คนในเมืองซานฟรานซิสโกพากันหลั่งไหลออกมาเต็มท้องถนน แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างออกไปจากบ้านเรา ขณะที่คนไทยรวมใจแสดงออกถึงการไม่ยอมรับการออกกฎหมายล้างผิดคนโกง แต่ที่นั่น พวกเขารวมตัวกันออกมาเปลี่ยนเมืองซานฟรานซิสโกให้กลายเป็นกอแธมซิตี้ เมืองแห่งคนบาปและอาชญากรรมที่มีแต่ในการ์ตูนคลาสสิคเรื่อง แบทแมน จากนั้นก็รอคอยกันอยู่เต็มสองฟากถนน คอยส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจแบทแมนที่กำลังจะออกมาปราบเหล่าร้ายผดุงคุณธรรม และผู้สวมบท แบทแมน หรือจะเรียกให้ถูกต้องว่า แบทคิด ที่ชาวเมืองรอคอยก็คือเด็กน้อยวัย 5 ขวบ Miles Scott ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เรื่องราวเริ่มต้นจากการที่มูลนิธิ Make-A-Wish ซึ่งทำหน้าที่เติมฝันของเด็กที่ป่วยเป็นโรคร้ายทั่วโลกมากว่า 30 ปี ได้พบคำปรารถนาของ Miles Scott ที่ฝันอยากเป็นแบทแมนสักครั้งในชีวิต ทางมูลนิธิจึงทำการรณรงค์ทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ผ่านแฮชแท็ค #SFBatKid โดยจุดเริ่มต้นต้องการเกณฑ์อาสาสมัครให้ได้ประมาณ 200 คน ให้ออกมาร่วมสวมบทพลเมืองกอแธมซิตี้ในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน วันที่เด็กน้อย Miles จะสวมหน้ากากเป็นแบทคิดออกมาลุยจับผู้ร้าย แต่ทำไปทำมากระแสความเห็นอกเห็นใจของผู้คนบนสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความฝันของเด็กน้อยผู้นี้มีมากเกินคาดหมาย ทำให้มีคนนัดแนะและลงชื่อว่าจะออกมาให้กำลังใจแบทคิดในวันนั้นมากถึง 13,000 คน กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ซึ่งทำให้ทางมูลนิธิสามารถขยายผลจนเชิญ ผู้ว่าฯ และ ผบ. ตำรวจ เมืองซานฟรานซิสโกมาร่วมแสดงได้ เลยเถิดไปจนถึงความสำเร็จในการทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกมาร่วมเล่นเป็นอีกหนึ่งตัวละครในวันนั้นโดยสวมบทเป็นตัวเอง ส่งข้อความผ่านวิดีโอ Vine ของ Twitter เชียร์แบทคิดให้ออกไปจับผู้ร้ายให้สำเร็จ เมื่อวันสานฝันมาถึง ทันทีที่แบทคิดตื่นนอนตอนเช้า ก็ได้รับข้อความจาก ผบ. ตำรวจ แจ้งเหตุอาชญากรรมใหญ่ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน จากนั้นนักแสดงพี่เลี้ยงที่สวมบทเป็นแบทแมน... Read The Rest →
BEYOND PRINT: 13th Article: 3D Printing

คิดนอกกระดาษ ตอน Beyond Print ของจริง 3D Printing By Weerachon Weeraworawit, Published: 25 December 2013 หลังปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงบนโลกนี้ก็เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีทั้งด้านบวกด้านลบ ถ้าจะนับที่มีอิทธิพลต่อวงการโฆษณาเราโดยตรง ก็คือการถือกำเนิดของ Mass Production ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าจำนวนมาก ขายให้คนจำนวนมาก อันเป็นต้นกำเนิดของอาชีพการตลาด นักขาย และสายงานโฆษณาในเวลาถัดมา ทั้งยังเป็นจุดเริ่มในการถือกำเนิดของการปฏิวัติใหญ่ๆ ที่ตามมาอย่างการปฏิวัติเทคโนโลยี และการปฏิวัติย่อยๆ อื่นๆ อีกมากมาย ที่ใกล้วงการเราหน่อยก็อย่างเช่น การปฏิวัติสื่อ ซึ่งทำให้ความนิยมในวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เป็นไปอย่างแพร่หลาย และที่เพิ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราไปไม่นานคือ การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อและสืบค้นข้อมูลกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในชีวิตประจำวันคนเรา และการปฏิวัติล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นแบบสดๆ ร้อนๆ และอยากแนะนำให้คอยจับตาดู คือการถือกำเนิดของ 3D Printing จากเดิมที่ดำเนินการในลักษณะ B2B คือสั่งทำชิ้นส่วน 3D และขายให้กันในแบบองค์กรต่อองค์กร มาวันนี้ 3D Printing กำลังจะกลายเป็นสินค้า Mass Product มุ่งขาย Mass Consumer อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อผู้ผลิตรายใหญ่บางรายสามารถกระชากต้นทุนการผลิตเครื่องพิมพ์และเครื่องสแกน 3D ให้ออกมาวางขายได้ในราคาที่สามัญชนอย่างเราๆ ท่านๆ เอื้อมถึง จากเดิมที่เครื่องละเป็นแสนเป็นล้าน เหลือเพียงเครื่องละ 50,000-60,000 บาท และโจทย์โฆษณา 3D Printer เครื่องแรกสู่สายตาสาธารณชนก็ได้รับการแจกจ่ายออกไปแล้ว โดยทาง MakerBot ผู้ผลิต 3D Printer รายใหญ่ของอเมริกา ได้มอบหมายให้เอเจนซี่อิสระมากฝีมือแห่งนิวยอร์ค Droga5 เป็นผู้คิดงานโฆษณา ใครอยากรู้หน้าตาตัวเครื่องและผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ออกมาจากเครื่อง 3D Printing ของ MakerBot... Read The Rest →