Marketeer – Adman 2014 Press Conference

แอดแมนฯ 2014 The New Frontier สร้างสรรค์วิธีพิชิต “พรมแดนใหม่” Published in Marketeer Magazine 7 August 2014 แอดแมนฯ 2014 ชูแนวคิด “The New Frontier” กระตุกต่อมอุตฯ โฆษณาและสื่อสารการตลาดตระหนักถึงการค้นหาวิธีพิชิต“พรมแดนใหม่” ของโลกการ สื่อสาร เพื่อตอบโจทย์และก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจของลูกค้าและแบรนด์    อ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า งานประกวด  Adman Awards & Symposium ประจำปี2014  เลือกใช้แนวคิด เดอะ นิว ฟรอนเทียร์ (The New Frontier)  เนื่องจาก สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นปัจเจกมากขึ้น จนถึงเครื่องมือการสื่อสารและวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่สร้างช่องทางการ สื่อสารใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้เกิด เดอะ นิว ฟรอนเทียร์ หรือที่เรียกว่าเป็น“พรมแดนใหม่” สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่วงการโฆษณา ตั้งแต่นักการตลาด ครีเอทีฟ และสื่อสารการตลาด จะต้องมองให้ทะลุและแก้โจทย์ให้ได้เพื่อให้การตลาดและการสื่อสารที่ส่งออกมา มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อ่อนอุษา กล่าวเสริมว่า “โลกของการสื่อสารการตลาดวันนี้ เป็นมากกว่าการโฆษณา จากไลฟ์สไตล์และ การแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามพัฒนาการของ เทคโนโลยี และมีอิทธิพลมากต่อการสร้างภาพพจน์และยอดขายของแบรนด์ นักโฆษณาหรือนักสื่อสารการตลาดต้องเปิดมุมมองใหม่ๆ เพื่อตามผู้บริโภคให้ทัน โดยที่ไอเดียต้องมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้คน“ สำหรับภาพรวมของวงการโฆษณาไทยปี 2557 สมาคมฯ คาดว่าจะมีอัตราคงที่ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ารวมประมาณ 135,000ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญจากผลกระทบทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เริ่มมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2556 และส่งผลลบมาถึงช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ด้าน วีรชน วีรวรวิทย์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน Adman Awards & Symposium 2014 กล่าว เสริมว่า เหตุผลที่คณะกรรมการเลือกใช้แนวคิด “เดอะ นิว ฟรอนเทียร์” เพราะต้องการจะสื่อว่าโจทย์สำคัญในวันนี้ของวงการโฆษณาและ สื่อสารการตลาด คือ ต้องค้นหาวิธีพิชิตพรมแดนใหม่ของโลกการสื่อสาร เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงและครองใจผู้บริโภคยุคปัจจุบัน งานแอดแมนฯ ปีนี้ต้องการกระตุ้นเตือนให้อุตสาหกรรมโฆษณาและสื่อสารการตลาด ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทิศทางการสร้างแบรนด์ต้องสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยน ไป   เพราะด้วยไลฟ์สไตล์และวิธีคิดใหม่ๆ ทำให้เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ขณะที่เทคโนโลยีทำให้เกิดสื่อใหม่ๆ เกิดวิธีการถ่ายทอดและนำเสนอรูปแบบใหม่... Read The Rest →

a day: number 167: Future Lions

Global Review: Advertising ตอน Future Lions สิงโตน้อยนักศึกษา By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 July 2014 พอเทศกาล Cannes International Festival of Creativity มาถึงแต่ละที เรามักให้ความสนใจกับการติดตามผลงานโฆษณาของครีเอทีฟไทยว่าเอเจนซี่ไหนจะได้รางวัลอะไร โปรดักเฮาส์ไหนจะสร้างชื่อให้กับวงการโฆษณาไทยในเวทีระดับโลกนี้บ้าง แต่จะว่าไปแล้ว เทศกาลคานส์มีอะไรดีๆ ให้ติดตามดูมากกว่าที่คิด นอกจากการมอบรางวัลสิงโตสีต่างๆ ให้กับครีเอทีฟมือโปรแล้ว คานส์ยังมีการจัดเวิร์คชอป Young Lions โดยให้ตัวแทนคานส์ในแต่ละประเทศคัดสรรครีเอทีฟรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 28 ปี ส่งมาเข้าร่วมแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานกันในช่วงเทศกาล หมวดหมู่ของการแข่งขันก็มีหลากหลายไม่แพ้รุ่นใหญ่ ครอบคลุม Print, PR, Media, Cyber, Design, Film ไปจนถึง Young Marketers นู่นเลย และในปีนี้ตัวแทนครีเอทีฟรุ่นใหม่ของไทย 2 คน ก็ได้รับเลือกโดยสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอกให้บินไปร่วมแข่งขันในหมวด Young Film Lions ด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น เวทีคานส์ยังมีการจัดการแข่งขันในระดับนิสิตนักศึกษา แต่ไม่ได้จัดโดยคานส์ หากแต่มีดิจิตอลเอเจนซี่ชั้นนำของโลก AKQA เป็นเจ้าภาพ โดย AKQA ถือได้ว่าเป็นดิจิตอลเอเจนซี่มากฝีมือ ผลิตงานออนไลน์ชั้นยอดกวาดรางวัลคานส์มามากมาย โดยการแข่งขันระดับนักศึกษาที่คานส์นี้ AKQA ตั้งชื่อไว้โก้เก๋ว่า Future Lions และได้ดำเนินการแข่งขันมาถึงปีที่ 9 จากเดิมที่มีนักศึกษาส่งผลงานเข้าแข่งขันไม่กี่ราย ก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,760 รายจาก 40 ประเทศในปีนี้ ที่น่าสนใจคือการตั้งโจทย์สำหรับ Future Lions ในแต่ละปีจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือกำหนดให้นักศึกษาจากทั่วโลกนำเสนอไอเดียที่ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่ทำให้เป็นจริงได้ในวันนี้ จากนั้นให้นำไอเดียนั้นมาสร้างสรรค์ผลงานโฆษณาให้กับแบรนด์ระดับโลก พร้อมทั้งส่งคลิปวิดีโอสั้นๆ อธิบายไอเดียดังกล่าวเข้ามาที่คานส์ ฟรี!... Read The Rest →

BEYOND PRINT: 16th Article: World Cup Unofficial Sponsors

คิดนอกกระดาษ ตอน ขอเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างไม่เป็นทางการ By Weerachon Weeraworawit, Published: 25 June 2014 เป็นเรื่องปกติในวงการโฆษณากันไปแล้ว เมื่อทัวร์นาเมนต์การแข่งขันกีฬาระดับโลกมาถึง แบรนด์ต่างๆ จำต้องสรรหาวิธีมาเรียกความสนใจจากผู้บริโภค วิธีง่ายที่สุดคือการจ่ายเงินให้กับผู้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์นั้นๆ ในฐานะ Official Sponsor หรือผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิลคราวนี้ก็เช่นกัน แต่ละแบรนด์ยอมจ่ายเงินเป็นร้อยเป็นพันล้าน เพื่อให้ได้ Media Exposure ทั้งก่อนหน้า ระหว่าง และหลังการแข่งขัน ขาประจำที่เราคุ้นหูค้นตากันดีก็มียักษ์ใหญ่น้ำอัดลม Coke และชุดกีฬา Adidas โดยในปีนี้ โค้กออกแคมเปญ The World’s Cup เปิดตัวหนังโฆษณาทั่วโลกไปแล้วด้วยเรื่อง One World, One Game ซึ่งเน้นเนื้อหาของคนตัวเล็กๆ ในสถานที่ที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากความฝันเรื่องบอลโลก เช่น ชุมชนในป่าอะเมซอน กลุ่มหญิงสาวในเมืองเล็กๆ ของปาเลสไตน์ และกลุ่มวัยรุ่นในเมืองเล็กๆ ของญี่ปุ่นที่ยังคงร่องรอยความเสียหายจากสึนามิ แล้วโค้กก็ทำเซอร์ไพร์สส่งฑูตลูกหนังไปเชิญมาร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลโลก รวมทั้งทำแคมเปญออนไลน์ เชิญคนดูทางบ้านให้ส่งภาพและเรื่องราวเข้ามาร่วมสนุก ลุ้นโอกาสได้รับเชิญไปร่วมฟุตบอลโลก ตามติดมาด้วยสารคดีออนไลน์ว่าด้วยเรื่องราวของคนที่รักและหลงใหลในฟุตบอลถึงขนาดไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนแบบนี้อยู่ในโลก เช่น นักฟุตบอลอาร์เจนติน่าผู้พิการทั้งสองแขน ผู้เป็นตำนานจากการวิ่งลงไปในสนามฉลองกับผู้เล่นอาร์เจนติน่าในวันที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกเมื่อปี 1978 นักฟุตบอลตาบอดชาวบราซิลซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในทีมชาติพาราลิมปิก รวมไปถึงทีมฟุตบอลรุ่นคุณย่าที่ไม่น่าเชื่อว่าด้วยวัยสูงขนาดนี้จะยังมีเรี่ยวแรงมาเตะบอลกันได้เป็นเรื่องเป็นราว โค้กยังทำเพลงและมิวสิควิดีโอประจำฟุตบอลโลกหนนี้เป็นของตนเองด้วยนะครับในชื่อ The World is Ours โดย David Correy รวมทั้งออกโค้กรุ่นพิเศษ Mini Bottle ที่มีลวดลายประจำชาติของ 32 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายให้แฟนๆ ได้สะสม แต่ใช่ว่าโค้กใช้เงินครึกโครมทั้งค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้ฟีฟ่า และค่าผลิตแคมเปญฟุตบอลโลกข้างต้นนี้แล้ว โค้กจะเป่าปากสบายใจได้นะครับ เพราะในขณะที่โค้กเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ คู่แข่งตัวเอ้อย่าง Pepsi ก็ไม่ยอมอยู่เฉย แถมล่าสุดออก Global Campaign ใหญ่โตที่สุดเท่าที่เป๊ปซี่เคยทำมา โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้ฟีฟ่าซักกะบาท ภายใต้แคมเปญ Now Is... Read The Rest →

« Older Entries Newer Entries »

Back to top